ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ห่างจากเมืองพิษณุโลกมาทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติ
ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าจัดจุฬามณีสร้างขึ้นในสมัยใด แต่หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดค้นและลักษณะทางสถาปัตยกรรมของโบราณหลัก เชื่อน่าว่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อีกทั้งหลักฐานจากพระราชพงศาวดารยังระบุว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างวิหารที่วัดจุฬามณี เมื่อ พ.ศ. 2007 ซึ่งพระองค์ได้เสร็จออกผนวชและจำพรรษาที่วัดจุฬามณี ใน พ.ศ. 2008 ต่อมาใน พ.ศ. 2222 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดให้สร้างรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ที่มณฑป
ใน พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ยกทัพมาช่วยเมื่องพิษณุโลก ในคราวที่อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าได้เข้าล้อม ในครั้งนั้นวัดจุฬามณีเป็นสถานที่หนึ่งในการตั้งค่ายเพื่อโอบล้อมกองทัพพม่า
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์เสด็จตรวจราชการมณฑลฝ่ายเหลือทรงค้นพบวัดจุฬามณี พร้องทั้งหลักศิลาจารึกสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ด้านหลังมณฑป ทำให้วัดจุฬามณีเป็นที่รู้จัก ต่อมาใน พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเมืองเหนือและได้พระราชนิพนธ์หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ซึ่งได้กล่าวถึงวัดจุฬามณีแห่งนี้ด้วย กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดจุฬามณีเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 1532 วันที่ 27 กันยายน 2479 ให้มีพื้นที่ 162 ไร้ 3 งาน 70 ตาราง